วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2552

What did the Buddha Teach?

What did the Buddha Teach?
Eighty years before the commencement of the Buddhist Era, a great man was born in to the world. He was the son of King Suddhodana and Queen Siri Maha Maya of Kapilavastu of the Sakka country which is now within the boundaries of Nepal. His name was "Siddhattha" Thirty-five years later, Prince Siddhattha attained Supreme Enlightenment and thereafter became known as the "Enlightened One" or the "Lord Buddha" as he is called in Thai. He proclaimed his "Dhamma" or Universal Truth to the people; and, thereafter, the Buddhist religion (the Teachings of the Buddha) and the Buddhist community of disciples came into existence. The community was composed of Bhikkhus or monks (including samaneras of male novices), Bhikkhunis or nuns (including samaneris of female novices), Upasakas or male lay followers Upasikas or female lay followers. A present, in Thailand, we have only monks and novices, Upasakas or Buddhist layman and Upasika or Buddhist laywomen. A monk is a man who has been ordained and conducts himself in accordance with the precepts laid down for a monk. A novice is a person under or over 20 years of age who has been ordained and conduct himself in accordance with the precepts laid down for a novice. A Buddhist layman or laywoman is one who has taken refuge in the Triple Gem, i.e. the Buddha, the Dhamma and the Sangha, and observes the precepts applicable to laymen and laywomen. At present we call laymen and laywomen, whether of age or under age, "Buddha-mamaka" and "Buddhamamika" respectively, mean "he or she who believes in the Buddha". Buddhism has spread from its place of birth into the various countries of the world.
The focal point of worship in Buddhism is the ti-ratana (the Triple Gem) namely the Buddha who by himself discovered, realized and proclaimed the Dhamma (Universal Truth) discovered, realized and proclaimed by the Buddha are the sangha or community of those who hear, follow and realize the Buddha's Teachings. Some members of sangha become monks and help in the dissemination of Buddhism and the perpetuation of monkhood up to the present time.

วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

พระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร?
ปัญหาเรื่องพระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร? ก็ศึกษาได้จากพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสเป็นปฐมเทศนาแก่พระภิกษุปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี มีข้อความแสดงชัดเจนว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจ 4 เพราะปฐมเทศนานั้นมีลักษณะตรัสรายละเอียดการบรรลุธรรมของพระองค์แก่พระสาวก หรือเป็นพระธรรมเทศนาที่ปฏิญญาณการตรัสรู้ของพระองค์แก่พระสาวก จึงควรได้กำหนดเนื้อหาสาระของปฐมเทศนาไว้โดยสังเขป
ในชั้นแรก พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธการปฏิบัติส่วนสุด 2 อย่าง คือ การติดอยู่ในกามสุขแบบชาวบ้าน ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่ย่อหย่อนเกินไปประการหนึ่ง และการปฏิบัติทรมานตนให้ลำบากเปล่า ไม่ได้ประโยชน์ที่ประสงค์ เป็นการปฏิบัติที่ตรึงเกินไปอีกประการหนึ่ง ตรัสว่า บรรพชิตผู้แสวงหาโมกษะไม่พึงติดอยู่ในการปฏิบัติส่วนสุดทั้งสองนั้น แล้วทรงเสนอทางปฏิบัติที่ทรงค้นพบใหม่ คือ อริยมรรคมีองค์ประกอบ 8 อย่าง พร้อมด้วยผลที่จะติดตามมาคือ ความรู้ ความดับทุกข์ และนิพพาน
ในขั้นต่อไป ทรงแสดงรายละเอียดของอริยสัจแต่ละข้อ เป็นการบอกขอบเขตของอริยสัจแต่ละข้อว่า หมายถึงอะไรบ้าง ในกรณีที่ใช้ศัพท์ตรงกับลัทธิศาสนาอื่น จะเห็นได้ว่า ทางพระพุทธศาสนามีขอบเขตของศัพท์อย่างไร คือขอบเขตของทุกข์ที่ตรัสว่า เป็นความจริงอันประเสริฐ ขอบเขตของตัณหาที่ตรัสว่าเป็นเหตุของทุกข์ ความหมายของความดับทุกข์ที่ว่า เป็นอริสัจอันประเสริฐ รายละเอียดของมรรคที่ตรัสว่าเป็นทางพ้นทุกข์อันประเสริฐ
ต่อจากนั้น ทรงแสดงหลักเกณฑ์ของการรู้อริยสัจแต่ละข้อว่า จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่พระองค์ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์ ทุกข์นี้เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ทุกข์นี้เราได้กำหนดรู้แล้วฯ ความจริงอันประเสริฐคือแดนเกิดของทุกข์ คือแดนเกิดของทุกข์นี้ควรละเสีย แดนเกิดของทุกข์นี้เราได้ละเสียแล้วฯ ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นี้ เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นี้ เราได้ทำให้แจ้งแล้วฯ ความจริงอันประเสริฐคือความดับทุกข์ ทางดับทุกข์นี้ เป็นสิ่งที่ควรทำให้มีเกิดขึ้น และเราได้ทำให้เกิดขึ้นแล้ว (เรียกว่า สัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ ในอริยสัจ 4) รวมเป็นญาณ 12 ในอริยสัจ 4
การปฏิญญาว่าได้ตรัสรู้ ในตอนท้ายของปฐมเทศนา พระพุทธเจ้าได้ตรัสลักษณะที่ทรงปฏิญญาการตรัสรู้ของพระองค์ แก่พระภิกษุปัญจวัคคีย์เป็นใจความว่า "ภิกษุทั้งหลาย ตลอดกาลเพียงไร ที่ญาณทัศนะเครื่องรู้เห็นตามความเป็นจริงของเรา อันมีปริวัฎสาม มีอาการสิบสอง ในอริยสัจ 4 เหล่านี้ ยังไม่บริสุทธิ์สะอาดด้วยดีตลอดกาลเพียงนั้น เรายังไม่ปฎิญญาว่าได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย"
"ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ญาณทัศนะเครื่องรู้เห็นตามความเป็นจริงของเรา อันมีปริวัฎสาม มีอาการสิบสอง ในอริยสัจ 4 เหล่านี้ บริสุทธิ์สะอาดด้วยดี เมื่อนั้น เราจะปฎิญญาว่า เป็นผู้ได้ตรัสรู้แล้วซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ปฐมเทศนาเป็นข้อความที่พระพุทธเจ้าตรัสเล่ารายละเอียดของความรู้ที่เกิดขึ้นแก่พระองค์ จนเป็นเหตุให้พระองค์ปลงพระทัยว่า ได้ตรัสรู้แน่นอนแล้ว และเป็นคำตอบอย่างชัดเจนว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้อะไร

รูปแบบอันสมบูรณ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
การตรัสรู้ คือ การเข้าถึงรูปแบบอันสมบูรณ์ของผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ พระสัมมาสัมพุทธะทุกพระองค์มีแบบฉบับคุณสมบัติอย่างเดียวกัน อยู่ในฐานะเป็นศาสดาเอกในโลก เป็นเอกบุคคลของโลก รูปแบบอันสมบูรณ์ของผู้ที่เป็นพระสัมมาสัมพุทธะนั้น คือ
  • เป็นพระอรหันต์ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย
  • เป็นผู้ได้ตรัสรู้อย่างถูกต้องตามเป็นจริงด้วยตนเอง
  • เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา 8 และจรณธรรมทั้งหลาย
  • เป็นผู้เสด็จไปดีแล้วในทุกสถานและตรัสธรรมงามทุกประการ
  • เป็นผู้รู้จัดแจ้งโลกตามความเป็นจริงโดยปราศจากความเคลือบแคลง
  • เป็นผู้ฝึกบุคคลที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม ไม่มีใครยิ่งไปกว่า
  • เป็นพระศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
  • เป็นผู้ตื่นแล้วจากความลับทุกๆ ด้าน
  • เป็นผู้จำแนกแจกธรรมแก่ปวงสัตว์ในระดับต่างๆ
  • เป็นผู้แสดงธรรมบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงทุกประการ (รศ.สุวรรณ เพชรนิล)

วันจันทร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2551

สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กันตาจารมหาเถระ)

สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กันตาจาโร)
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ มีนามเดิมว่า ประจวบ นามสกุล เนียมหอม กำเนิดเมื่อวันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2469 ที่หมู่บ้านโรงจีน ตำบลบางแพ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี บิดาชื่อ คง มารดาชื่อ ท้อน มีบุตร 6 คน ท่านเป็นบุตรคนโต เมื่อตอนเป็นเด็ก ท่านตัวเล็ก ผอมสูง และไม่ค่อยจะแข็งแรงมากนัก จึงเข้าเรียนช้า โดยปกติเด็กทั่วไปจะเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาตามเกณฑ์ เมื่ออายุ 7 ปีบริบูรณ์ แต่ท่านเข้าเรียนเมื่ออายุ 10 ปี ที่โรงเรียนเฉลียววิทยา วัดเหนือบางแพ ซึ่งเป็นโรงเรียนประชาบาล อยู่ใกล้บ้านนั่นเอง เรียนอยู่ 2 ปี จบชั้นประถมปีที่ 2 ชีวิตก็หักเหเข้าสู่เส้นทางธรรม

บรรพชาเป็นสามเณร
เมื่ออายุได้ 12 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2480 ณ วัดเหนือบางแพ ตำบลบางแพ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี โดยมีพระธรรมเสนานี (เงิน) วัดสัตตนารถปริวัตร อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เป็นพระอุปัชฌายะ พระครูนาถ สุมโน เจ้าอาวาสวัดเหนือบางแพ เป็นพระศีลาจารย์ เรื่องที่ได้บรรพชาเป็นสามเณรนี้มีปฐมเหตุ คือในระหว่างที่ท่านเรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ 2 นั้น มีตำรวจชื่อเอิบ ผลเอนก มีศักดิ์เป็นพี่เขย รับราชการอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ลามาอุปสมบทจำพรรษาที่วัดเหนือบางแพ ได้ขอท่านมาเป็นลูกศิษย์ถือปิ่นโตให้ เมื่อออกพรรษาแล้ว ก่อนลาสิกขาออกไปรับราชการ ได้ชักชวนให้ท่านเข้ามาบวช ท่านจึงไปขออนุญาตจากมารดา แต่มารดาไม่เห็นด้วย และไม่ยอมอนุญาต ท่านเสียใจมากถึงกับร้องไห้ ถึงตอนนี้โยมมารดาคงจะสงสารหรือหมั่นไส้ก็ไม่ทราบ จึงอนุญาตให้บวช โดยพูดประชดออกมาว่า "เอ็งอยากจะบวชก็บวช บวชแล้วก็ให้บวชจนตาย เอ็งอย่าสึกออกมานะ" เมื่อท่านเล่าถึงตอนนี้ ท่านจึงพูดแบบตลกว่า "คงจะเป็นเพราะปกาศิตของโยมแม่คำนี้กระมังที่เราไม่ได้สึก ทั้งที่เพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกันสึกออกไปเกือบหมดแล้ว" เป็นที่น่าเสียดายว่า โยมมารดาของท่านถึงแก่กรรมไปนานแล้ว หากยังมีชีวิตอยู่ และทราบว่า บุตรคนโตของท่าน นับตั้งแต่บรรพชาเป็นสามเณร อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้ศึกษาเล่าเรียนทั้งทางคดีโลก และคดีธรรม จนกระทั่งจบการศึกษาถึงชั้นปริญญาเอก เป็นพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ มีบทบาทสำคัญทั้งในด้านการบริหาร และการศึกษาของคณะสงฆ์ไทยในปัจจุบัน ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดให้สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏแล้ว คงจะมีความชื่นชมโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ครั้นบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ท่านก็ยังคงเรียนต่อในชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในขณะเดียวกันก็ได้เล่าเรียนพระปริยัติธรรมแผนกนักธรรม ที่วัดเหนือบางแพควบคู่กันไปด้วย เรียนจบชั้นประถมปีที่ 3 และเรียนจบชั้นประถมปีที่ 4 ก็สอบนักธรรมชั้นตรีได้ เมื่ออายุได้ 14 ปี ชีวิตในวัยเยาว์ช่วงนี้ก็แปลกเหมือนกัน เพราะท่าเรียนทางโลกทางธรรมควบกันมาตั้งแต่แรก ซึ่งในสมัยนั้นโรงเรียนประชาบาลให้สามเณรเรียนในชั้นกับเด็กได้ ท่านก็พูดถ่อมตนเสมอว่า ท่านหัวไม่ดี เรียนไม่เก่ง แต่ก็ชอบเรียน ชอบอ่านหนังสือ ก็สอบผ่านมาเรื่อยๆ บางทีก็เรียนจบก่อนคนหัวดี คงเป็นเพราะมีอิทธิบาท 4 นั่นเอง (ทรงวิทย์ แก้วศรี)
เข้ามาอยู่วัดมกุฏกษัตริยาราม
ถึงปี พ.ศ.2483 อายุได้ 14 ปี เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ ได้เข้ามาศึกษาในกรุงเทพฯ เรื่องมีอยู่ว่า ท่านพระครูวิบูลธรรมคุต (เปรียญ 6 ประโยค ต่อมาลาสิกขาเข้ารับราชการทหารเป็นพันโทวิบูล สิริสุภาส) ซึ่งเป็นพระครูคู่สวดกับพระครูวิจิตรธรรมคุณ (ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี อดีตเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม) ฐานานุกรมในสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ได้เดินทางไปเยี่ยมญาติที่อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี ท่านผู้นี้มีศักดิ์เป็นญาติและคุ้นเคยกับโยมบิดาของเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ จึงได้ขอฝากสามเณรบุตรชายมาศึกษาต่อในกรุงเทพฯ ด้วย เดิมทีนั้นจะอยู่ที่วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม แต่มีเหตุขัดข้องบางประการ ท่านพระครูวิบูลธรรมคุตจึงได้ขอฝากให้อยู่กับเจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฐายี) สมเด็จพระสังฆราช เมื่อครั้งดำรงสมศักดิ์ที่พระเทพกวี ซึ่งมีพระศาสนโศภณ (แจ่ม จัตตสัลโล) เป็นเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม โดยออกปากว่า "ขอฝากเณรน้องชายมารับใช้อยู่ด้วยสักองค์หนึ่ง" ซึ่งเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชก็ทรงยินดีรับ
ครั้นถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2483 ในปีเดียวกันนั้น ท่านพระครูวิบูลธรรมคุต ก็ได้นำไปฝากให้อยู่กับสมเด็จพระสังฆราช วัดมกุฏกษัตริยาราม เมื่อสมเด็จพระสังฆราชทอดพระเนตรเห็น ได้ตรัสกับพระครูวิบูลธรรมคุตว่า "นี่หรือน้องชาย นึกว่าโตแล้ว ตัวกะเปี๊ยกแค่นี้หรือ ไม่เป็นไรมาอยู่ด้วยกัน" ท่านจึงได้อยู่กับสมเด็จพระสังฆราชพระองค์นั้น จวบจนวินาทีสุดท้ายที่สมเด็จพระสังฆราชสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2514

สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กันตาจาโร) ได้สร้างผลงานให้แก่วงการคณะสงฆ์และสาธารณประโยชน์มากมาย ในด้านการศึกษา เป็นผู้อุปถัมภ์โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม และโรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริยาราม และเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมบาลี และแผนกสามัญศึกษา มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย ในปี พ.ศ.2516 ที่ ต.สนับทึบ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ตามพระดำริของสมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายีมหาเถระ)
ด้านสาธารณูปการ ท่านได้บูรณปฏิสังขรณ์ และก่อสร้างอาคารถาวรวัตถุภายในวัดมกุฏกษัตริยาราม ได้ก่อสร้างอาคารเรียน อาคารที่พักอาศัย อุโบสถ หอประชุมมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย (วัดชูจิตธรรมาราม อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา) รวม 50 หลัง
นอกจากนี้ ได้ก่อสร้างศาลาการเปรียญและกุฏิที่พักอาศัยที่สำนักปฏิบัติธรรมมกุฏคิรีวัน ต.โป่งตาลอง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา รวมทั้งให้ความอนุเคราะห์โรงพยาบาลอำเภอบางแพ เป็นต้น
การปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศ ท่านได้เดินทางไปร่วมฉลองพุทธชยันติ ณ ประเทศญี่ปุ่น และไปเยี่ยมทหารไทยที่ประเทศเกาหลี เป็นริเริ่มก่อตั้งวัดญาณรังษีที่รัฐเวอร์จีเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และเดินทางไปดูการพระพุทธศาสนาที่ประเทศต่างๆ ในภาคพื้นยุโรป
ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2505 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระกิตติสารมุนี พ.ศ.2515 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชกวี
พ.ศ.2517 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพโมลี พ.ศ. 2528 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมธัชมุนี
พ.ศ.2536 ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฎที่ พระธรรมปัญญาจารย์
ในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ได้เข้ารับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ "สมเด็จพระพุทธชินวงค์"
นับเป็นนิมิตหมายอันดีสำหรับในแวดวงการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย เพราะสมเด็จฯ ถือเป็นผลผลิตของมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย หลังจากสำเร็จปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัยแล้ว ท่านได้ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยบันนารัส ประเทศอินเดีย ในสาขาศาสนาและปรัชญา
ถือเป็นพระเถระชั้นสมเด็จพระราชาคณะรูปเดียวและรูปแรกที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก
ยังไม่นับรวมถึงวิทยฐานะในการศึกษาด้านอื่นๆ เช่น พระปริยัติศึกษานักธรรมชั้นเอก และเปรียญธรรม 5 ประโยค จบสามัญศึกษา ประโยคเตรียมอุดมศึกษา (ม.8) ประโยคครู พ., และ ประโยคครู พ.ป. เป็นต้น
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ ได้คลุกคลีอยู่กับงานด้านบริหารมาอย่างยาวนาน รวมทั้งได้ทุ่มเวลาให้กับการศึกษามาโดยตลอดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย มาจนถึงปัจจุบัน ได้ขยายวืทยาเขตของมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัยไปทั่วทุกภาคของประเทศไทยอย่างมากมาย
ด้วยการมองการณ์ไกลของการขยายการศึกษาสู่ท้องถิ่น ได้เป็นกำลังสำคัญในการก่อตั้งวิทยาลัยสงฆ์วังน้อย (มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย) เป็นวิทยาเขตแห่งแรกของมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย ได้เปิดการเรียนการสอน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 เป็นต้นมา
วิยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย ถือเป็นศูนย์การศึกษาของคณะสงฆ์ไทยที่สมบูรณ์พร้อม นอกจากบริเวณกว้างขวางกว่า 700 ไร่ ยังได้จัดสัดส่วนของสิ่งก่อสร้างได้อย่างดีเยี่ยม มีอาคารเรียน หอพัก หอฉัน ห้องสมุด อุโบสถและศูนย์อนามัยขนาดย่อม
ด้วยความตั้งใจที่จะให้วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัยนี้ เป็นสถานศึกษาของพระภิกษุ-สามเณรที่ด้อยโอกาสและเป็นแหล่งผลิตศาสนทายาทที่มีคุณภาพแล้ว ยังขยายการศึกษาไปที่วัดไผ่ดำ อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรีด้วย
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลาจารวัตร มีความรอบรู้ทั้งในทางคดีโลกและคดีธรรม
เป็นพระมหาเถระนักบริหารชั้นสูงรูปหนึ่งของประเทศไทย ทั้งในฐานะกรรมการมหารเถระสมาคม ซึ่งเป็นองค์กรปกครองสูงสุดของคณะสงฆ์ไทย ในขณะเดียวกัน ยังดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นพระมหาเถระผู้มีความรู้ความสามารถในการบริหารระดับสูงยิ่ง
ชีวิตและประสบการณ์ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมายาวนานของท่านเจ้าประคุณสมเด็จ จึงควรที่สาธุชนทั่วไปจะได้ยึดถือเป็นทิฏฐานุคติเป็นแบบอย่างสืบไป. (หนังสือพิมพ์ข่าวสด)

ข่าวประกาศ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กันตาจาโร) มหาเถระ อดีตเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม และอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในวันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552 เวลา 16.00 น. ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ส่วนวันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552 ตั้งแต่เวลา 16.30 น. มีพิธีสวดพระพุทธมนต์ และสวดพระอภิธรรม ณ ศาลา 13 วัดมกุฏกษัตริยาราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ จึงแจ้งให้บรรดาศิษยานุศิษย์ และสาธุชน ผู้เคารพศรัทธาในพระเดชพระคุณร่วมงานนี้โดยพร้อมเพรียงกัน













วันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2551

พระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนาเป็นระบบพัฒนามนุษยชาติ
การเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนานั้น สามารถกล่าวโดยสรุปว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่คนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์ต่อชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อุดมการณ์ของพระพุทธศาสนาคือ อัตถะ เป็นประโยชน์, หิตะ มีการเกื้อกูล, สุขะ มีความสุข ซึ่งจะพบว่า หลักธรรมทุกๆ ข้อในทางพระพุทธศสนานั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดงประโยชน์ใน 3 ระดับ แต่มีความเชื่อมโยงกันอยู่ เพียงแต่เป็นประโยชน์ไว้ในระดับใดอยู่ที่การสามารถสัมผัสได้ในขณะนั้นๆ เป็นหลัก การจะดูว่า เป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์ ต้องดูในภาคของการปฏิบัติว่า หลักธรรมเหล่านั้น สามารถเกื้อกูลแก่ตน คนอื่นหรือไม่ การจะดูว่า ผลจากการปฏิบัติจะเกื้อกูลหรือไม่ จึงต้องตรวจสอบที่ผลสำเร็จว่า อำนวยความสุขให้แก่ตน คนอื่นมากน้อยแค่ไหนเพียงไรหรือไม่ อุดมการณ์เหล่านี้อาจจะแตกต่างกันในด้านภาษา แต่จะลงกัน สมกันในด้านเนื้อหา ที่เป็นผลสัมผัสจากการปฏิบัติถูกทางของบุคคลในยุคสมัยนั้นๆ เช่น พระราชปณิธานของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชที่ว่า
ตั้งใจจะอุปถัมภก ยอยกพระพุทธศาสนา
ป้องกันขอบขันธสีมา รักษาประชาชนและมนตรี
ภารกิจในการขับเคลื่อนเข้าสู่อุดมการณ์ที่ทรงวางไว้ ทรงทำด้วย บังอบายเบิกฟ้า ด้วยการ ฝึกฟื้นใจพลเมือง คือ ปิดประตูทางเสื่อม เปิดประตูทางเจริญ ด้วยการฝึกปรืออบรมประชาชน เน้นหนักไปในระดับศีลธรรมจรรยา ให้ประชาชนภายในชาติเป็นคนดีมีศีลธรรม สำนึกบาปบุญ คุณโทษ กลัวบาปกรรม นรก มีความพอใจยินดีในการทำความดี ที่อำนวยความสุขให้ในขณะนั้นๆ และกาลต่อมา ทั้งบุญนั้นจะติดตามตัวไปในภพชาติต่อๆ ไป ตบแต่งภพชาติของตนให้ประณีตขึ้น เพียงเท่านี้ก็สร้างคนให้มีวินัยในตนเอง มีความพร้อมที่จะเว้นบาป เพียงเพราะอายผีสางเทวดา และพร้อมที่จะทำความดีด้วยสำนึกว่า คนไม่เห็นผีสางเทวดาก็รู้เห็นการกระทำของตน สามารถพัฒนาสำนึกของตนให้กอปรด้วยหิริ โอตัปปะเป็นหลักใจ เรือนใจ ฐานของใจ คุณมีคุณธรรมเพียงเท่านี้ ก็สามารถบริหารจัดการองค์กรให้มีความสุขความเจริญได้แล้ว
พระพุทธศาสนาเป็นหลักกรรมวาที เป็นวิริยวาที
หลักการสำคัญในทางพระพุทธศาสนาในฐานะเป็น กรรมวาที คือ กล่าวถึงผลทั้งหลายที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ และในการกระทำนั้นเองจะต้องใช้ความพยายามอย่างต่อเนื่อง จึงเรียกว่า วิริยวาที กรอบของความพยายามคงอยู่ในหลัก 4 ประการข้างต้น คือ พยายามในการป้องกันความชั่ว พยายามในการลด ละ ความชั่ว พยายามในการพัฒนาความดี และพยายามในการรักษาสืบสานความดี หรืออาจจะพูดวิธีการบริหาร คือ การป้องกัน การบำบัด การบำรุง และการรักษา
กระบวนการของกรรมที่ต้องทำด้วยความพยายามดังกล่าวนั้น ทำให้กระบวนการของกรรมแบ่งออกเป็น 3 ช่วงใหญ่ๆ คือ กรรมในกาลอดีตกาลนานไกล กรรมในกาลอดีตใกล้ และกรรมในกาลปัจจุบัน แสดงว่าชีวิตของคนจะประสบผลในทางใดก็ตาม มีความเกี่ยวข้องกับกรรม ชีวิตคนในแต่ละชาติจึงเชื่อมโยงอยู่กับกรรม 3 ประเภท คือ
1. อปราปรเวทนียกรรม กรรมในอดีตกาลนานไกล ที่เคยกระทำไว้ในชาติปางก่อน นับจากชาติปัจจุบันไปจากชาติลำดับที่ 3 เป็นต้นไป เนื่องจากมีกรรม 2 ประเภทเป็นหลัก อันได้แก่กรรมดีกับกรรมชั่ว กรรมในอดีตจึงมีทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว ใครจะมีกรรมอะไรมากกว่ากันขึ้นอยู่กับการกระทำของคนเหล่านั้นเป็นประการสำคัญ คนที่สร้างบารมีธรรมมามากแสดงว่ามีกรรมดีมาก ทำให้คนเหล่านั้นอยู่ในฐานะที่ท่านเรียกว่า บุพเพกตปุญญตา ท่านมีบุญที่ได้กระทำมาในกาลก่อน ขอบข่ายของกรรมประเภทนี้อาจจะแบ่งออกได้ทั้ง 3 กาล แต่ถ้าทำบาปไว้มาก ท่านเรียกว่า บุพเพกตปาปกรรม คือ กรรมที่เป็นบาปได้กระทำมาในกาลก่อน ที่ครอบคลุมกรรมในกาลทั้ง 3 เช่นเดียวกัน
2. อุปปัชเวทนียกรรม กรรมที่ทำไว้ในชาติปัจจุบัน อาจเป็นปีก่อนๆ เดือนก่อนๆ หรือวันก่อนๆ และในขณะนั้นๆ คงเป็นได้ทั้งบุญและบาป ตามเจตนาที่บุคคลกระทำลงไป ทุกขั้นตอนของชีวิตไม่ว่าจะเป็นการบริหาร การจัดการ อะไรก็ตาม หลักการสำคัญของพระพุทธศาสนาจึงมาเริ่มที่ การบริหารตนของคนแต่ละคนก่อน กระบวนการของกรรม ที่เป็นผลจากความพยายามทั้งทางถูกและทางผิด ล้วนมีส่วนอย่างสำคัญในการบริหารจัดการทุกกรณี โครงสร้างหลักของชีวิตจึงมีความเชื่อมโยงกันทั้งในอดีตไกล อดีตใกล้ และปัจจุบันดังกล่าว ท่านจำแนกเป็นรูปของสมบัติ 4 และวิบัติ 4 คือ
วิบัติ 4 จุดอ่อน ความบกพร่องในจุดต่างๆ กลายเป็นปัญหาอุปสรรคต่อการพัฒนาการในหลายๆ ด้านของชีวิติ จำแนกเป็น 4 ประการ คือ
1. คติวิบัติ ในช่วงยาวนานเกิดจากบาปกรรมที่ตนเองกระทำไว้ในอดีต จิตใจถูกกำกับด้วยผลบาปหรือถูกครอบงำด้วยอำนาจของกิเลส เป็นเหตุให้ระบบการคิด การทำ การพูดของตน เป็นปัญหาอุปสรรคต่อตนหรืออาจจะอยู่ในสถานที่เกี่ยวข้องกับคนที่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการพัฒนาตน
2. อุปธิวิบัติ ความวิบัติของรูปร่าง บุคลิกภาพ สุขภาพ ร่างกายพิกลพิการ ไม่สง่างาม งดงาม มีโรคมาก สุขภาพไม่ดี
3. กาลวิบัติ กาลเสีย หมายถึงเกิดมาในยุคสมัยที่คุณสมบัติของตนไม่เป็นที่ต้องการของสังคม ผู้ปกครองสังคมมีปัญหาด้านคุณธรรม มีปัญหาอาชญากรรม เศรษฐกิจ จริยธรรมมาก และแพร่หลาย
4. ปโยควิบัติ ความวิบัติของการประกอบ การกระทำ ความประพฤติขาดความสำนึกดี ไม่มีความรับผิดชอบ ใฝ่ต่ำ ฝักใฝ่ในความชั่ว คนชั่ว หมกหมุ่นอบายมุข เป็นต้น เป็นคนประเภทมืดมามืดไป
(พระเทพดิลก : ระแบบ ฐิตญาโณ)